วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทที่ 9 E-government


E-Government 
e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการ คือ

     1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
     2.ทําให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
     3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
     4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกวาเดิม

e-government คือ 
          วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ เครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทําให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนํามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สําคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจาก การเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนําไปสู่การลดคอรัปชัน หากเทียบกับ e-commerce แล้ว egovernment คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet  มีระบบความปลอดภัย เพื่อทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่ e-services เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ

หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C
           ระบบต้องมีความมันคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชําระเงินค่าบริการธุรกิจก็สามารถดําเนินการ ค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญในการให้บริการตามแนวทาง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

สรุปบทที่ 8 E-procurement


ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) 
          เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ค้า การทำ e-Catalog และการทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ จัดซื้อที่เป็น Web Based Application เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้

e-Procurement หมายถึง 
          การทางานในแต่ละขั้นตอนของระบบ ข้อมูลจะถูกจัดส่งและจัดเก็บไปในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อมูลเหล่านี้พร้อมที่จะถูกนาไปวิเคราะห์ต่อไป โดยข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและเลือกสินค้าจาก e-Catalog การออกใบขอสั่งซื้อ การรับและการอนุมัติใบขอสั่งซื้อ การออกใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ การตรวจรับสินค้าและการชาระเงิน ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนจะถูกถ่ายทอดไปอย่างต่อเนื่องจนจบกระบวนการ โดยไม่ต้องใช้เอกสารที่เป็น Manual เลย ทาให้มีความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยา และเกิดความโปร่งใส และที่สำคัญข้อมูลจะถูกถ่ายทอดไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้เกิดการประสานงานอย่างสอดคล้องภายองค์กรและระหว่างองค์กรกับผู้ขายอีกด้วย 
การพัฒนาระบบ e-Procurement
          ของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในประเทศไทย ควรเป็นไปเพื่อหนุนเสริมการปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยรวม ซึ่ง ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ เสนอว่า วัตถุประสงค์ในการปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในประเทศไทยควรประกอบด้วยเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ 
- ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรง กับความต้องการของผู้ใช้
- ความพร้อมรับผิด (Accountability) และการสร้างระบบธรรมาภิบาล(Good Governance) โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมี ความพร้อมรับผิดต่อการตัดสินใจของตน
- ความโปร่งใส (Transparency) โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อสาธารณะ 
- ความคุ้มค่า (Value for Money) เพื่อลดปัญหาการที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมากจากกระบวน การจัดซื้อจัดจ้างที่มีความยุ่งยาก

สรุปบทที่7 Supply Chain Management



Supply Chain Management คือ 
          ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers(ผู้ผลิตสินค้า), manufacturers(โรงงานผู้ผลิต), distributors(กระจายสินค้า) เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า โดยมรการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าหรือบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

     การกำเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชน กล่าวกันว่า มีต้นแบบมาจาการส่งลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกำลังบำรุงของทหาร โดนเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหารจะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่กำหนดอย่างถูกต้องตรงตามเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนจัดลำดับก่อนหลังและรักษาประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วแม่นยำ ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง โดย Helen Peek และคณะได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหาร ซัพพลายเชน 4 ระยะคือ
  - ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization) เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่าย ซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไมาสามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่าย ต่างทำงานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน
    -  ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company) ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือยระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถูดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น
     - ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company) ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการมีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนพ่วงโว่ นอกจากนี้กิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง เช่น ฝ่ายผลิตกับฝ่ายขายอาจต้องมีการออกสำรวจความจ้องการของผู้บริโภคว่าขณะนี้มีความต้องการสินค้าประเภทใด ลักษณะใด เพื่อที่จะได้มีการวางแผนการผลิตเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค
     - ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company) ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้เปรับ

         โครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียวกัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวั๖ถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์ และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนำส่งวัตถุดิบให้กับบริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน

สรุปบทที่ 6 E-CRM : Electronic Customer Relationship Management

Customer Relationship Management (CRM)        เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสม
กระบวนการทำงานของระบบ CRM- Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า - Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท - Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว 
- Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน 
รูปแบบหรือชนิดของ CRM- หมายถึง กระบวนการ (process) และ technology ที่ใช้ในการให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ความถูกต้องรวดเร็วของปฏิบัติการประจำวัน (day-today customer-facing operation)- Analytical CRM รวบรวม ค้นหา จัดระบบ วิเคราะห์หาข้อมูล/ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า นำไปสร้างกระบวนการบริการของธุรกิจ- Strategic CRM องค์กร กำหนดให้เป็นกลยุทธ์สำคัญขององค์กร โดยเริ่มจากกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร และคำนึงถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อลูกค้า- Collaborative CRM มุ่งการใช้การบริการและศักยภาพของโครงสร้างภายใน(infrastructure) เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและช่องทางติดต่อกับลูกค้าทุกทาง - E-CRM   หมายถึง  กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทางinternet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน  
คุณสมบัติที่ดีของ E-CRM- ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และสามารถในการประเมินความต้องการของลุกค้าล่วงหน้าได้- การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ และทันต่อเหตุการณ์
องค์ประกอบของ E-CRM- ระบบการจัดการ- คน
- เทคโนโลยี
หน้าที่หลักของ E-CRM - การหาลูกค้าใหม่ (Prospecting) - การรักษาลูกค้าเก่าไว้ หรือ การเรียกลูกค้าเก่ากลับมา  (Save or Win Back) - การสร้างความจงรักภักดี
 - การขายเพิ่มขึ้นโดยใช้ (Cross-sell/Up-sell)
การหาลูกค้าใหม่ (Prospecting)     ปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ - การจัดกลุ่มลูกค้า - การเลือกกลุ่มลูกค้าที่จะเป็นเป้าหมาย - วิธีการได้ลูกค้า - การจัดกลุ่มและการเลือกจะพิจารณาจาก 
วิธีการได้ลูกค้า - การโฆษณาตามสื่อต่างๆ  - การประชาสัมพันธ์ - Web Site - พนักงานขาย
 - งานแสดงสินค้า
 - ลูกค้าติดต่อ สอบถามที่บริษัท
การรักษาลูกค้าเก่าไว้ หรือ การเรียกลูกค้าเก่ากลับมา (Save or Win Back)        
ตรวจสอบ
  - ลูกค้าที่มีแนวโน้มการซื้อลดลง
  - ลูกค้าที่ขาดการติดต่อ
กลยุทธ์
  - วิเคราะห์และเสนอสินค้า และหรือโปรแกรมที่จูงใจ
  - เสนอกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้าเข้าร่วม
การจัดกิจกรรมทางการตลาด  “ความต้องการของลูกค้า” และ “กำไรของบริษัท”
การสร้างความจงรักภักดี การวัดความจงรักภักดีพิจารณาจาก- มูลค่าที่ได้รับจากลูกค้า (Value-based segmentation) ดูยอดซื้อของลูกค้าแต่ละราย ดูกำไรที่ได้รับ จัดกลุ่มตามยอดซื้อหรือกำไร- ความต้องการของลูกค้า (Need-based segmentation) ดูความต้องการของแต่ละคน จัดกลุ่มตามความต้องการ
การสร้างความจงรักภักดีทำได้โดย - จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง- เสนอสิทธิพิเศษ- เสนอสินค้าหรือบริการใหม่ๆ
- ทำ Loyalty Program
การขายเพิ่มขึ้นโดยใช้ (Cross-sell/Up-sell) - ขายสินค้าชนิดอื่น (Cross-sell) เช่น การขายประกันรถยนต์ ประกันบ้านกับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิต (Offer: Complementary Product) - ขายสินค้าเกรดดีขึ้น หรือ ขายปริมาณมากขึ้น (Up-sell)ขั้นตอนการทำงานของ E-CRM1.การวิเคราะห์ลูกค้า1.ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องสามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่มีอยู่ในฐานข้อมูลได้อย่างมีคุณค่าและมีประสิทธิภาพ   และการเก็บข้อมูลของลูกค้าและการนำไปใช้  จึงควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ 2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด สภาพแวดล้อมทางการตลาดแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ  ระบบภายใน  และ  ระบบภายนอก  ซึ่งทั้งสองระบบต่างมีความสำคัญต่อองค์กร  หากมีจุดบกพร่องหรือเกิดข้อจำกัดขึ้นที่ใด 3.การแบ่งส่วนตลาด ซึ่งสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็น  3  ประเภท  คือ  ลูกค้าที่เป็นธุรกิจค้าส่ง   ธุรกิจค้าปลีก  และผู้บริโภค4.การกำหนดตลาดเป้าหมาย  สามารถแบ่งเป็น  2  ประเภท  ได้แก่  ประเภท  Traders  คือ  กลุ่มคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย  และประเภท  Consumers  คือ  กลุ่มผู้บริโภค 5.การจัดทำแผนการตลาด
 บริษัทควรจะจัดลำดับความสำคัญของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่าควรให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าเปาหมายใดเป็นอันดับแรกและรองลงไป  และแต่ละกลุ่มนั้นผู้ใดมีบทบาทและมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องมือหรือกิจกรรมการสื่อสารการตลาดที่นำมาใช้กับ  E-CRM - การตลาดโดยตรง  Direct  Marketing  ได้แก่  โทรศัพท์  ( Telemarketing ) เช่น  Call  Center  ใบรับประกันสินค้า  ( Warranty  Card )  การตลาดอิเล็กทรอนิกส์  ( E-Marketing )  เช่น  การสร้างเวปไซต์ที่ให้สาระน่ารู้เกี่ยวกับสินค้า  และมีสื่อตอบกลับให้ลูกค้าสื่อสารกลับมา- การประชาสัมพันธ์ ( Public  Relations )ได้แก่  เอกสารข่าวแจกในรูปของใบปลิว  แผ่นพับ  วารสาร  การจัดกิจกรรมพิเศษ ( Event  Marketing )  เช่น  การเชิญลูกค้าเป้าหมายที่ถูกต้องมาร่วมงานที่บริษัทจัดขึ้น-การโฆษณา  ( Advertising )เช่น  การเขียนข้อความแบบเป็นกันเอง  และพิมพ์ส่วนท้ายของโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์  เป็นคูปองเพื่อให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดตอบกลับมายังบริษัท  ทั้งนี้เพื่อขอรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติม-การส่งเสริมการขาย ( Sales  Promotion ) เป็นการสร้างและเพิ่มยอดซื้อของลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง  ได้แก่  แคมเปญสะสมแต้มคะแนนจากยอดซื้อเพื่อแลกรับของรางวัลหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ 
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าระบบการตลาดอัตโนมัติ (Market Automation) เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล (Personalization) ประวัติลูกค้า (ประเภทของสินค้าที่ซื้อ จำนวนมูลค่าในการซื้อ ความถี่ในการซื้อ) การตลาดทางไกล (Tele-Marketing)  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมให้กับลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม          การขายอัตโนมัติ (Sales automation) กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลของสินค้าและราคา ลักษณะเด่น การจัดสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า          บริการ (Service) เป็นงานให้บริการลูกค้า ได้แก่ ระบบ call center การตอบคำถามของลูกค้า การบริหาร Workflow  การโต้ตอบผ่านระบบ IVR (Interactive Voice Response)          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่การให้ข้อมูลสินค้า การทำรายการซื้อขาย และระบบการชำระเงิน ความปลอดภัยเทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล (Database Technology) ใช้สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก         เทคโนโลยีที่สามารถโต้ตอบได้ (Interactivity) เช่นเว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร หรือวิธีการอื่นๆที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทได้ทันที         เทคโนโลยีการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานเดียวกันเป็นจำนวนมากแต่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Mass Customization Technology)
การนำ e- CRM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จอาจจะแบ่งกลุ่มเทคโนโลยีหลักได้ดังนี้- ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Market Automation) เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล - การขายอัตโนมัติ (Sales automation) กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลของสินค้าและราคา ลักษณะเด่น การจัดสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า- บริการ (Service) เป็นงานให้บริการลูกค้า ได้แก่ ระบบ call center การตอบคำถามของลูกค้า การบริหาร Workflow  การโต้ตอบผ่านระบบ IVR (Interactive Voice Response)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่การให้ข้อมูลสินค้า การทำรายการซื้อขาย และระบบการชำระเงิน ความปลอดภัย
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์- คลังข้อมูล (Data Warehousing) เป็น การรวมฐานข้อมูลหลายฐานจากระบบปฏิบัติการเช่นระบบขาย ผลิต บัญชี มาจัดสรุปใหม่หรือเรียบเรียงใหม่ตามหัวข้อต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย - การขุดค้นข้อมูล (Data Mining and OLAP) เป็นเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ที่ดึงข้อมูล และวิเคราะห์จากข้อมูลปฏิบัติการ จากระบบฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ - การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต (Internet Technology) เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า- ระบบศูนย์บริการลูกค้า (Call-center) การใช้ระบบ PC telephony รวมถึง Internet telephony ซึ่ง เป็นการรวมระบบโทรศัพท์เข้ากับระบบงานต่างๆ

สรุปบทที่ 5 E-marketing

E-Marketing


     E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ พีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง


E-Marketing Plan

วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทำ E-marketing Plan เพื่อ-Cost reduction and value chain efficiencies
-Revenue generation
-Channel partnership
-Communications and branding





ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น

1. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้ าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ 104 ภาษา
2. สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
3. ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
4. จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
5. คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น

- Click and Click  เป็นการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว ไม่มีธุรกิจในโลกจริง
- Click and Mortar เป็นรูปแบบที่มีธุรกิจจริง (Real) อยู่แล้วแต่ขยายมาทำในอินเทอร์เน็ต

 

เปรียบเทียบกันระหว่าง 2 โมเดล Click & Click
ข้อดี 
-ต้นทุนต่ำใช้คนน้อย (คนเดียวก็ทำได้)
-เริ่มต้นได้ง่าย
-เปิดกว้างมากกว่า
-ไม่ต้องมีความชำนาญมากก็เริ่มทำได้ 
ข้อเสีย 
-ขาดความชำนาญ
-สร้างฐานลูกค้าใหม่
-รองรับลูกค้า Online ได้อย่างเดียว
-ความน่าเชื่อถือน้อย

Click & Mortar 

ข้อดี

-มีความเชี่ยวชาญ
-มีลูกค้าอยู่แล้ว
-น่าเชื่อถือ
-รองรับลูกค้าได้ online และ Offline

ข้อเสีย 
-ต้นทุนสูงใช้คนมาก
-ใช้เวลาในการจัดทำ
-การทำงานต้องยึดติดกับบริษัท

 

การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์

1.กำหนดเป้าหมาย
    - เป้าหมายในการทำเว็บ คุณทำเว็บไปทำไม??
    - กลุ่มเป้าหมายของคนที่จะเข้าเว็บคุณคือใคร?
    - จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis)
    - แหล่งรายได้ของเว็บไซต์
    - จุดเด่น หรือจุดแตกต่าง (Differentiate) ของคุณกับเว็บอื่นๆ

2. ศึกษาคู่แข่ง
     - คู่แข่งคุณคือใคร?
     - ศึกษารูปแบบการทำเว็บ, ธุรกิจของคู่แข่ง
     - จุดเด่น-จุดอ่อนอะไรบ้าง
     - ศึกษาเคาเตอร์ (Stat) ของคู่แข่ง
     - เข้าร่วมเว็บบอร์ดของคู่แข่ง (ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ ชอบไม่ชอบอะไร)
     - บอกรับจดหมายสมาชิกของคู่แข่ง
     - ขอข้อมูลทีjเกียวข้องกับเว็บไซต์ (ราคาโฆษณา, สถิติ)
     - เข้าชมเว็บคู่แข่งเป็นประจำ

3. สร้างพันธมิตร 

     - เว็บคู่แข่ง
     - บุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเดียวกัน
     - เว็บอื่นๆ ที่สามารถร่วมมือกันได้
     - กับผู้เข้าชมเว็บไซต์

4. ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น

     - เคาเตอร์วัดจำนวนคนเข้า
     - ตัวเก็บสถิติ (Stat)
     - เว็บบอร์ด
     - Guest Book
     - ตัวเก็บนับจำนวนคนในเว็บไซต์ขณะนั้น
     - ห้าม Save ภาพในหน้าเว็บนั้น

5. ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์อยู่เสมอ

     - ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้, คู่แข่ง, ตลาด, สภาพแวดล้อม, เทคโนโลยี
     - เปิดรับความคิดเห็นจากผู้ใช้
     - ปรับปรุงเว็บไซต์อยู่เสมอ
     - วางแผน => ปรับปรุง => โฆษณา => ประเมินผล 

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กรณีศึกษา บริษัท ​เอสซีจี SCG

กรณีศึกษา บริษัท ​เอสซีจี SCG

         ​เอสซีจี เร่งขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดสัมมนาใหญ่ Supply Chain Sustainability Forum ครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Walking Together…เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” มุ่งส่งเสริมและยกระดับคู่ธุรกิจเพื่อร่วมกันสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และประโยชน์อย่างยั่งยืนให้สังคมและสิ่งแวดล้อม ตามกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
       
       นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 100 ปี เอสซีจีดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งมั่นสร้างประโยชน์อย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักบรรษัทภิบาล ส่งผลให้เอสซีจีประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบองค์กรด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

       เอสซีจีจึงมีเจตนารมณ์ที่จะนำแนวคิดนี้มาใช้เป็นกลไกและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน และขยายผลความสำเร็จไปสู่การขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงจัดงานสัมมนา Supply Chain Sustainability Forum ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Walking Together…เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันของเอสซีจีและคู่ธุรกิจในการทำความดี และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน​

       “เอสซีจีมีคู่ธุรกิจมากกว่า 8,000 ราย จึงมุ่งส่งเสริมคู่ธุรกิจทุกรายให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เปิดเผย โปร่งใส และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ตาม “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี”
       (SCG Supplier Code of Conduct) เป็นที่น่ายินดีว่าการจัดงานครั้งนี้มีคู่ธุรกิจมาร่วมงานมากกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งหมด นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการก้าวไปด้วยกัน ภายใต้กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

       ทั้งนี้ การที่เอสซีจีและคู่ธุรกิจแสดงพันธะสัญญาร่วมกันดังกล่าว เป็นการแสดงออกถึงความตั้งใจจริง
       ที่จะใช้ศักยภาพจากความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยใช้จุดแข็งที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ เอื้อประโยชน์เสริมกันและกัน
       เป็นมิติใหม่และเป็นต้นแบบของการดำเนินธุรกิจอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

       ด้านนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า คู่ธุรกิจมีส่วนสำคัญที่ทำให้เอสซีจีเติบโตอย่างยั่งยืนมาตลอด 100 ปี การผนึกกำลังของคู่ธุรกิจกับเอสซีจีนับเป็นก้าวแรกของความร่วมมือที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยเอสซีจีพร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือคู่ธุรกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ การให้ความรู้ คำปรึกษา การเสนอแนะแนวทางปรับปรุง การสนับสนุนด้านวิชาการ การประเมินประสิทธิภาพ รวมถึงได้จัดทำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” เพื่อเป็นแนวทางให้คู่ธุรกิจร่วมกันปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ควบคู่กับการกำกับดูแลกิจการที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนใช้เป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของเอสซีจี
       

       กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของเอสซีจี (SCG Sustainable Supply Chain) 
ซึ่งทุกองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 

      1. การปรับปรุงกระบวนการภายใน ทั้งกระบวนการผลิต การขนส่ง โดยใช้การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรด้วยมาตรฐานระดับโลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเอสซีจีมีแนวทางที่ชัดเจนว่าถึงแม้กำลังผลิตจะเพิ่มมากขึ้นเท่าใด แต่ผลกระทบจากกระบวนการผลิตต้องไม่เพิ่มตาม

       2.การยกระดับคู่ธุรกิจซึ่งเปรียบเสมือนต้นน้ำ คือ ผู้ผลิตสินค้า ผู้ให้บริการ และผู้จัดจำหน่ายให้กับเอสซีจี (SD Upstream Supply Chain) โดยใช้ประสบการณ์ด้านธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เอสซีจีทำสำเร็จแล้วไปช่วยปรับปรุงให้คู่ธุรกิจประสบความสำเร็จเหมือนเอสซีจี อาทิ การพัฒนาคู่ธุรกิจผ่านโครงการ Greening Supply Chain ที่สนับสนุนการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) โดยพัฒนาคู่ธุรกิจให้มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ที่กำหนด และโครงการรับรองระบบความปลอดภัยคู่ธุรกิจ

       3. การสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ปลายน้ำ คือ ลูกค้า ผู้อุปโภคและบริโภค (SD Downstream Supply Chain) ด้วยการเข้าใจและตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องที่เป็นผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ได้ขยายไปถึงเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย และ 4. การส่งเสริมเผยแพร่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับภาคส่วนต่างๆ แม้จะไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือความสัมพันธ์โดยตรงก็ตาม (Collaboration with Others)


       “นอกจาก “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” แล้ว เอสซีจียังมุ่งผลักดันการยกระดับการจัดการและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของคู่ธุรกิจ โดยพัฒนาการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย เพื่อพัฒนาให้คู่ธุรกิจมีความเป็นมืออาชีพ ครอบคลุมทั้งคู่ธุรกิจที่เป็นผู้ผลิต (Eco-Manufacturer) ผู้ให้บริการ (Professional -Contractor) และ ผู้จัดจำหน่าย (Eco-Trader) โดยเอสซีจีจะเข้าไปให้คำปรึกษา และติดตามผลที่ได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับคู่ธุรกิจแล้ว ยังคาดหวังให้คู่ธุรกิจนำไปขยายผลต่อในห่วงโซ่ต่อ ๆ ไป อันจะส่งผลให้เกิดการขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยรวม” นายรุ่งโรจน์ กล่าว 

สรุปบทที่4 E-COMMERCE

                                             บทที่4 E-COMMERCE


ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
             ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
           พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการ
ลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการโกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 

                                                 กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)

 การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
       - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
       - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
       - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
       - การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
       - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
       - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1. ระบบเครือข่าย (Network)
2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ The Dimensions of E-Commerce
Business Model of E-Commerce
Brick – and – Mortar Organization
           Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent.
Virtual Organization
         Organization that conduct their business activities solely online.
Click – and – Mortar Organization
         Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical world.

E-Commerce Business Model
          แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add)ให้กับสินค้าและบริการ
วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
        รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษาได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory)เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า
    ส่วนตัว อย่างของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่นำเสนอในการศึกษาได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน)Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance (ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และCement Thai Online (อุปกรณ์ก่อสร้าง) ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงาน หรือสำนักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจาก E-Commerce จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากธุรกิจไม่มีระบบภายใน (Back Office) ที่พร้อม ซึ่งถือเป็นปัจจัยในความสำเร็จที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง

ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                     
ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
    1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
    3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
    4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
    5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
    6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
    7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
    8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
    1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
    2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
    3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
    4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
    5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน