วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กรณีศึกษา บริษัท ​เอสซีจี SCG

กรณีศึกษา บริษัท ​เอสซีจี SCG

         ​เอสซีจี เร่งขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดสัมมนาใหญ่ Supply Chain Sustainability Forum ครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Walking Together…เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” มุ่งส่งเสริมและยกระดับคู่ธุรกิจเพื่อร่วมกันสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และประโยชน์อย่างยั่งยืนให้สังคมและสิ่งแวดล้อม ตามกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
       
       นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 100 ปี เอสซีจีดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งมั่นสร้างประโยชน์อย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักบรรษัทภิบาล ส่งผลให้เอสซีจีประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบองค์กรด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

       เอสซีจีจึงมีเจตนารมณ์ที่จะนำแนวคิดนี้มาใช้เป็นกลไกและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน และขยายผลความสำเร็จไปสู่การขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงจัดงานสัมมนา Supply Chain Sustainability Forum ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Walking Together…เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันของเอสซีจีและคู่ธุรกิจในการทำความดี และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน​

       “เอสซีจีมีคู่ธุรกิจมากกว่า 8,000 ราย จึงมุ่งส่งเสริมคู่ธุรกิจทุกรายให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เปิดเผย โปร่งใส และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ตาม “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี”
       (SCG Supplier Code of Conduct) เป็นที่น่ายินดีว่าการจัดงานครั้งนี้มีคู่ธุรกิจมาร่วมงานมากกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งหมด นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการก้าวไปด้วยกัน ภายใต้กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

       ทั้งนี้ การที่เอสซีจีและคู่ธุรกิจแสดงพันธะสัญญาร่วมกันดังกล่าว เป็นการแสดงออกถึงความตั้งใจจริง
       ที่จะใช้ศักยภาพจากความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยใช้จุดแข็งที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ เอื้อประโยชน์เสริมกันและกัน
       เป็นมิติใหม่และเป็นต้นแบบของการดำเนินธุรกิจอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

       ด้านนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า คู่ธุรกิจมีส่วนสำคัญที่ทำให้เอสซีจีเติบโตอย่างยั่งยืนมาตลอด 100 ปี การผนึกกำลังของคู่ธุรกิจกับเอสซีจีนับเป็นก้าวแรกของความร่วมมือที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน พร้อมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยเอสซีจีพร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลือคู่ธุรกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ การให้ความรู้ คำปรึกษา การเสนอแนะแนวทางปรับปรุง การสนับสนุนด้านวิชาการ การประเมินประสิทธิภาพ รวมถึงได้จัดทำ “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” เพื่อเป็นแนวทางให้คู่ธุรกิจร่วมกันปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ควบคู่กับการกำกับดูแลกิจการที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนใช้เป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของเอสซีจี
       

       กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของเอสซีจี (SCG Sustainable Supply Chain) 
ซึ่งทุกองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 

      1. การปรับปรุงกระบวนการภายใน ทั้งกระบวนการผลิต การขนส่ง โดยใช้การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรด้วยมาตรฐานระดับโลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเอสซีจีมีแนวทางที่ชัดเจนว่าถึงแม้กำลังผลิตจะเพิ่มมากขึ้นเท่าใด แต่ผลกระทบจากกระบวนการผลิตต้องไม่เพิ่มตาม

       2.การยกระดับคู่ธุรกิจซึ่งเปรียบเสมือนต้นน้ำ คือ ผู้ผลิตสินค้า ผู้ให้บริการ และผู้จัดจำหน่ายให้กับเอสซีจี (SD Upstream Supply Chain) โดยใช้ประสบการณ์ด้านธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เอสซีจีทำสำเร็จแล้วไปช่วยปรับปรุงให้คู่ธุรกิจประสบความสำเร็จเหมือนเอสซีจี อาทิ การพัฒนาคู่ธุรกิจผ่านโครงการ Greening Supply Chain ที่สนับสนุนการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) โดยพัฒนาคู่ธุรกิจให้มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ที่กำหนด และโครงการรับรองระบบความปลอดภัยคู่ธุรกิจ

       3. การสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ปลายน้ำ คือ ลูกค้า ผู้อุปโภคและบริโภค (SD Downstream Supply Chain) ด้วยการเข้าใจและตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องที่เป็นผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ได้ขยายไปถึงเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย และ 4. การส่งเสริมเผยแพร่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับภาคส่วนต่างๆ แม้จะไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือความสัมพันธ์โดยตรงก็ตาม (Collaboration with Others)


       “นอกจาก “จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี” แล้ว เอสซีจียังมุ่งผลักดันการยกระดับการจัดการและประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของคู่ธุรกิจ โดยพัฒนาการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย เพื่อพัฒนาให้คู่ธุรกิจมีความเป็นมืออาชีพ ครอบคลุมทั้งคู่ธุรกิจที่เป็นผู้ผลิต (Eco-Manufacturer) ผู้ให้บริการ (Professional -Contractor) และ ผู้จัดจำหน่าย (Eco-Trader) โดยเอสซีจีจะเข้าไปให้คำปรึกษา และติดตามผลที่ได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับคู่ธุรกิจแล้ว ยังคาดหวังให้คู่ธุรกิจนำไปขยายผลต่อในห่วงโซ่ต่อ ๆ ไป อันจะส่งผลให้เกิดการขยายเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยรวม” นายรุ่งโรจน์ กล่าว 

สรุปบทที่4 E-COMMERCE

                                             บทที่4 E-COMMERCE


ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
             ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
           พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการ
ลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการโกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 

                                                 กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)

 การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
       - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
       - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
       - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
       - การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
       - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
       - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1. ระบบเครือข่าย (Network)
2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ The Dimensions of E-Commerce
Business Model of E-Commerce
Brick – and – Mortar Organization
           Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent.
Virtual Organization
         Organization that conduct their business activities solely online.
Click – and – Mortar Organization
         Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical world.

E-Commerce Business Model
          แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add)ให้กับสินค้าและบริการ
วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
        รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษาได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory)เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า
    ส่วนตัว อย่างของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่นำเสนอในการศึกษาได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน)Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance (ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และCement Thai Online (อุปกรณ์ก่อสร้าง) ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงาน หรือสำนักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจาก E-Commerce จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากธุรกิจไม่มีระบบภายใน (Back Office) ที่พร้อม ซึ่งถือเป็นปัจจัยในความสำเร็จที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง

ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                     
ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
    1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
    3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
    4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
    5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
    6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
    7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
    8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
    1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
    2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
    3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
    4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
    5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

สรุปบทที่ 3 E-Environment

บทที่ 3 E-Environment

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

images by free.in.th

จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. ภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้
    - ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่า
    - เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด
    - ใช้ในการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ
2. สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้
    - ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด
    - ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ
    - ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ SWOT

images by free.in.th

- S (Strengths) จุดแข็ง
เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่น มีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคง ที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งจัดจำหน่าย บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง ฯลฯ
- W (Weaknesses) จุดอ่อน
  เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ
- W (Weaknesses) จุดอ่อน
  เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ
- O (Opportunities) โอกาส
  เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ำ ฯลฯ
- T (Threats) อุปสรรค
เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ ฯลฯ

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix
- กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)เป็น การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก


- กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)
เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน
- กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข



- กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)
เป็น การขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สรุปบทที่2 E-business infrastructure

บทที่2 E-business infrastructure

E-business infrastructure   หมายถึงการรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย  

ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components
1. E-business service applications layer ชั้นของแอปฟลิเคชั่น คือ ชั้นของโปรแกรม ต่างๆ

จะเป็นการใช้แอปฟลิเคชั่น โดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
2. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่อง
ของการจัดการซอฟต์แวร์
3. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่างๆ ประสาน
งานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
4. storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้
ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
5. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต อินทราเน็ต

Key management issues of e-business infrastructure
1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแอปฟลิเคชั่่น เช่นก่ารจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail เป็นต้น
3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ
4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร เช่นเอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง หรือ ใช้บริการบริษัทภายนอกองค์กร

Internet technology
Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก
 ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server

Intranet applications
อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce 
โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management 

Extranet applications
เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูล
โดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง

Firewalls
ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง

Web technology
World Wide Web,  หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language)
 และเป็นการบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ

Web broswsers and servers
- เว็บเบราว์เซอร์ (web browserเบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
 - เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์


Internet - access software applications

- Web 1.0
ลองนึกย้อนไปตอน Internet เพิ่งเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงๆจังๆ (คงไม่รวมเอาแบบยุคเริ่มต้นเกินไปก็ได้นะ) เราจะเริ่มหรือเคยเห็นมีเว็บไซต์หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของเว็บไซต์ก็จะเป็นการนำเอาข้อมูลที่ตัวเอง ต้องการนำเสนอไปทำในรูปแบบของ html หรือข้อมูลต่างๆที่เราเห็นอยู่นั่นแหละไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ หรืออินเตอร์เน็ต ส่วนเราผู้ใช้ก็มีหน้าที่ คือกดเข้าไปอ่านส่วนเจ้าของก็คือมีหน้าที่คือ Update ข้อมูลเข้ามาทำกันไปกันมาแบบเดียวกันนี้แหละ ซึ่งโดยสรุปเราอาจจะเรียกวิธีการแบบนี้ว่าเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว หรือเรียกว่า One Way Communication ก็ได้

- Web 2.0
จาก WEB 1.0 ต่อมาเว็บไต์ก็เริ่มมีการพัฒนา พวก WEB Board, Blog, มีการนำภาพมาแชร์ นำ วีดีโอ มา Post มีการแชร์ แบ่งปัน แลกเปลี่ยน พูดคุย ถกเถียงกัน นินทา ประจาน ใส่ร้ายก็มี ทั้งจากเจ้าของเว็บไซต์เอง หรือจากคนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์กันเองเรียกว่า ผู้ใช้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ข้อมูล หรือ Content ในเว็บไซต์นั้นมีการ update และพัฒนา ปรับปรุง อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เว็บไซต์มีรูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบสองทาง หรือ Two Way Communication ซึ่งพอมาถึงจุดนี้ทำให้ อินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากกกก ลองดูข้อมูลที่ผมได้มา จากภาพก็พอจะ

- Web 3.0
จาก WEB 2.0 ก็เริ่มขยับก้าวเข้ามาสู่ช่วงของ WEB 3.0 ...แล้วอะไรละที่เพิ่มเข้ามา ก็มีคนสรุปไว้ค่อนข้างเยอะ ผมเองก็อ้างอิงและผนวกกับประสบการณ์และมุมมองส่วนตัวเข้ามาว่า สื่งที่คนพัฒนาเว็บกำลังพยายามทำกันต่อก็คือ แก้ไขปัญหาของข้อมูลหรือ Content ที่ไม่มีคุณภาพต่างๆ ที่ WEB 2.0 ได้สร้างขึ้น ซึ่งมีการขยายขนาดและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วทำยังไงละผู้ใช้ถึงจะสามารถเข้าถึง Content หรือสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ง่ายและตรงความต้องการมากที่สุด สะดวกที่สุด ก็เลยมีการพูดถึง


Blog
บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์

สรุปบทที่ 1 Introduction to E-Business and E-Commerce

บทที่ 1 Introduction to E-Business and E-Commerce


และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็ว และเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic commerce) คือ 

                 การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้


E-Business  คือ 

                 การดำเนินกิจกรรมทาง  “ธุรกิจ” ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ


E-commerce และ E-business มีความแตกต่างกัน

     -E-commerce เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เป็นสื่อกลางสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการเพื่อช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

         -E-business คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่แข่ง และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ

         -E-business มีความหมายกว้างกว่า E-commerce เนื่องจาก E-business ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การให้บริการลูกค้า การตลาด และการประสานงาน


ประเภทของ E-Commerce

1. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) 
เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า


2. การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า)  กับ Business ( ผู้ทำการค้า) 
เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์


3. การทำการค้าระหว่าง Business ( ผู้ทำการค้า)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน


4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกัน
เช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคท่านที่สนใจ